วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่5

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 30 พฤศจิกายน  2555

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.


เนื้อหาที่เรียน
   - อาจารย์สอนขอบข่ายทางคณิตศาสตร์อ้างอิงของนิตยา ประพฤติกิจ  2541 (17-19)
1.การนับ  คือจำนวนตัวเลข  ลำดับที่
2.ตัวเลข เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตสาสตร์
3.การจับคู่ เป็นการให้เด็กได้ดูรูปรางรูปทรงของสิ่งสองสิ่ง   จำนวนที่เท่ากัน
4.การจัดประเภท  การกำหนดเกณ
5.การเปรียบเทียบ  ของสองสิ่ง
6.การจัดลำดับ  การหาค่าเอาตัวเลขมาจัดลำดับ
7.รูปทรงและเนื้อที่  รูปทรง+ปริมาณ
8.การวัด  การหาค่าของต่างๆเช่น ปริมาณ  ความยาวความสั้น
9.เซต  เช่น  เซตของสิ่งต่างๆเช่นเครื่องสำอาง
10.เศษส่วน  ทั้งหมด การแบ่งครึ่ง
11.การทำตามแบบหรือลวดลาย  เช่น ให้เด็กเขียนตัวเลขตามเส้นประ
12.การอนุรักษณ์

การสอนคณิตศาสตร์แนวใหม่อ้างอิงของ เยาวพา  เดชะคุปต์ 2542: 87-88
1.การจัดกลุ่มหรือเซต
2.จำนวน1-10
3.ระบบจำนวน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซต
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่  การเรียงลำดับ
7.การวัด
8.รูปทรงเลขาคณิต
9.สถิติและกราฟ  ทำการบันทึก  ทำแผนภูมิ  การเปรียบเทียบ  การนำเสนอข้อมูล


บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆตั้งใจเรียน อาจจะมีเพื่อนคุยกันบ้างแต่อาจารย์จะหยุดพูดและคอยเรียกเพื่อนๆที่คุยกันให้มาสนใจฟังที่อาจารย์สอน แต่เพื่อนๆส่วนใหญ่ตั้งใจฟังงานที่อาจารย์สอนเป็นอย่างดี

การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-ได้รับความรู้ในเรื่องของความหมายคำว่าคณิตศาสตร์และการฝึกเขียนภาษาอังกฤษในคำที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อนำไปฝึกฝนตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้

งานที่ได้รับมอบหมาย


-อาจารย์ให้จับคู่2คนนำขอบข่ายการสอนของนิตยา ประพฤติกิจมาเชื่อยโยงกับหมวดการสอนทั่วไปเขียนใส่กระดาษและมารายงานในอาทิตย์ถัดไป
*หมายเหตุ* : ไม่ได้เข้าเรียน แต่ได้ถามรายละเอียดในการเรียนวันนี้จากเพื่อน**


วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่4

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 23  พฤศจิกายน  2555

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.


ไม่มีการเีรียนการสอน  เนื่องจากคณะศึกษาศาสตร์จัดงานกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์





วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย


คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กควรเน้นการให้เด็กได้มีโอกาสจัดกระทำกับวัตถุประสงค์ต่างๆเพราะเด็กในวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา การจัดการเรียนรู้เน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุดและกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสจัดกระทำหรือลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่างๆรวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้สัมผัสแตะต้องได้เห็นสิ่งต่างๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆโดยผ่านประสาทสัมผัสแตะต้องได้เห็นสิ่งใหม่ๆซึ่งวิธีการดังกล่าวจะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว
การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหมายถึงการจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็กเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งครูต้องวางแผนการจัดการเรียนรู้เป็นอย่างดีประกอบด้วยกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้า แก้ปัญหา พัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดที่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ เด็กแต่ละวัยจะมีความสามารถเฉพาะเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงบรรยากาศการเรียนต้องไม่เคร่งเครียดเด็กรู้สึกสบายๆในขณะเรียนเห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ในธรรมชาติบ้าน โรงเรียน กิจกรรมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันและเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมจะช่วยพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และความคิดรวบยอดได้ดีขึ้น

    ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยความสามารถต่างๆดังนี้

  1. การจำแนกประเภท
  2. การจัดหมวดหมู่
  3. การเรียงลำดับ
  4. การเปรียบเทียบ
  5. รูปร่างรูปทรง
  6. พื้นที่
  7. การชั่งตวงวัด
  8. การนับ
  9. การรู้จักตัวเลข
  10. รู้จักความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนกับตัวเลข
  11. เวลา
  12. การเพิ่มและลดจำนวน
จำนวนและตัวเลข เด็กปฐมวัยหากได้เรียนรู้จากการปฏิบัติโดยการใช้สื่อของจริงจะส่งผลให้มีทักษะการรับรู้เชิงจำนวนเนื่องจากธรรมชาติได้สร้างให้สมองของเด็กมีบริเวณที่เกี่ยวข้อง กับการรับรู้เชิงจำนวน ส่วนของสมองอย่างน้อย 3 บริเวณที่เกี่ยวข้องกับทักษะการรับรู้เชิงจำนวน สองส่วนแรกอยู่ที่สมองทั้งซีกซ้ายและขวาเกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ตัวเลข และบริเวณที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเปรียบเทียบจำนวน และบริเวณสุดท้ายอยู่ที่สมองซีกซ้ายคือ ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนับปากเปล่าและความจำเกี่ยวกับจำนวน การคำนวณ โดยสมองทั้ง 3 ส่วนจะทำงานร่วมกัน พัฒนาการด้านการรับรู้เชิงจำนวนและคณิตศาสตร์เริ่มตั้งแต่ปฐมวัยและพัฒนาเรื่อยไปจนถึงวัยผู้ใหญ่

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่3

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 16  พฤศจิกายน  2555

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.



เนื้อหาที่เรียน
   - อาจารย์ให้จับกลุ่ม  3  คน แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากงานที่ได้ไปหาข้อมูลมาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ถ้าข้อมูลที่ไปหามาเหมือนกับเพื่อนในกลุ่มให้นำข้อมูลนั้นมาไว้เป็นอันดับแรก  ข้อมูลที่ไม่เหมือนกันเอาไว้ส่วนท้าย  เพื่อให้เกิดความหมายเดียวเป็นส่วนรวม  เรียบเรียงเป็นประโยคของกลุ่มในแต่ละคนได้มาจากใครบ้างและทุกข้อต้องมีอ้างอิงด้วย
   - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มตอบคำถาม  5  ข้อ  คือ
     1. ความหมายของคณิตศาสตร์
     2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 
     3. การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  
     4. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ 
     5. หลักการสอนคณิตศาสตร์ 
   - อาจารย์ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน


  จากการสรุป  โดยสมาชิกในกลุ่ม  ดังนี้

1.นางสาวฐาทินี ศรีจันทร์    เลขที่ 2
2.นางสาวนิภาพร หมื่นยุทธ    เลขที่ 21
3.นางสาวจริยา วงศ์ดี  เลขที่ 28



1.ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์   หมายถึง การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลใช้ในการวิเคราะห์การเรียนรู้การแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนอีกทั้งคณิตศาสตร์เป็นสิ่งประเทืองปัญญา ในวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ การคาดคะเน เลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ เรขาคณิต ที่นำไปวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และเลือกใช้กลวิธีที่ใช้ในการศึกษาอย่างเหมาะสม
    อ้างอิง:ความคิดเชิงวิเคราะห์,ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ศักดา บุญโต,2527
                การสร้างชุดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3,ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี,2542
                คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา,ผู้ช่วยศาสตราจารย์มยุรี ณะฤทธิ์,2538
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
  1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดความคิดรวบยอดเกียวกับคณิตศาสตร์อย่างสมบูรณ์ สามารถนำเอาไปเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการเรียนรู้ได้
  2. เพื่อให้รู้จักใช้ในกระบวนการหาคำตอบ สร้างพื้นฐานของการคิดคำนวณ ซึ่งอาจเรียกว่าความเข้าใจในคณิตศาสตร์
  3. เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานคณิตศาสตร์ เรียนรู้แสดงความหมาย คำพูด สัญลักษณ์ เข้าใจศัพท์ ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
  4. เพื่อฝึกฝนให้เกิดทักษะ สามารถแก้ปัญหาได้ ทำคณิตศาสตร์ได้
  5. เพื่อให้เด็กมีความรู้และค้นคว้าทดลองหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง
     อ้างอิง:นิตยา ประพฤติกิจ,2541,คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                  สุรชัย ขวัญเมือง,2522,วิธีการสอนและวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
                  รองศาสตราจารย์วรรณี โสมประยูร,2540,เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์สำเร็จรูป
3. การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
  1. เด็กจะเรียนรู้จากการเล่นหรือกิจกรรม ฝึกแก้โจทย์ที่พบในชีวิตประจำวัน
  2. ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนเกิดการนึกคิด แก้ปัญหา ทบทวน ตั้งสมาธิเพื่อเร้าความสนใจ
  3. ตัวแปรทางคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์ หลักการช่วยให้เด็กเข้าใจมโนมติทางคณิตศาสตร์ ควรใช้วิธีการหลายวิํธี
  4. การเสนอมโนมติจากสภาพการณ์หลายสภาพที่จะนำไปใช้เด็กต้องเข้าใจสิ่งที่สามารถแทนได้หลายรูปแบบ
     
     อ้างอิง:รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ธนะชัยขันธ์,2543
                 กองวิจัยทางการศึกษากรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ,2001
                 รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร อาษานาม,2537
4. ขอบข่ายคณิตศาสตร์
  บุคคลที่มีความสำคัญที่สุด คือ ครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ครูจะต้องรู้ระดับการเรียนของเด็ก เพื่อที่จะได้เลือกวิธีสอนที่เหมาะสม กับเนื้อหา วัย และความสามารถของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม ประกอบคำอธิบาย ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ ตัวเลขการนับ การบวก การลบ การคูณ การหาร
     อ้างอิง:สุรชัย ขวัญเมือง,2522,วิธีการสอนและวัดประเมินผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
                  สุวร กาญจนมยูร,2532,เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
                  นิตยา ประพฤติกิจ,2542,คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. หลักการสอนของคณิตศาสตร์
  1. ต้องสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น คิดเร็ว
  2. ต้องมีเทคนิคการสอนคณิตศศาสตร์ให้เร็ว
  3. กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนให้ดี
  4. ต้องจัดกิจกรรมการเรียนให้หลากหลายบ
  5. จัดให้มีระบบและรู้จักการค้นพบ
  6. การฝึกหัดต้องได้กระทำและเข้าใจ

     อ้างอิง:สุวรกาญจนมยูร,2532,เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
                 สุรชัย ขวัญเมือง,2522,วิธีการสอนและวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษ

บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆแต่ละกลุ่มตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์สั่ง



การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-ได้รู้จักการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน  การทำงานเป็นกลุ่ม รวมถึงการไปศึกษาค้นคว้างานอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่2

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 9 พฤศจิกายน  2555

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.




เนื้อหาที่เรียน
   - อาจารย์ให้เขียนภาษาอังกฤษ 3 คำ ดังนี้

คณิตศาสตร์  =  Mathematics
ประสบการณ์  =  Experiences
     เด็กปฐมวัย  =  Early childhood  

   - อาจารย์อธิบายทฤษฎีของเพียเจต์
   - อาจารย์อธิบายสิ่งรอบตัวที่เป็นคณิตศาสตร์
     การรับรู้เกิดก่อนการเรียนรู้
     คณิตศาสตร์ เป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง

แอร์ = อุณหภูมิ


นาฬิกา = เวลา

ลำโพง = ความดัง

เป็นต้น


บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆตั้งใจเรียน อาจจะมีเพื่อนคุยกันบ้างแต่ก็ไม่ดังจนเกินไปเพราะอาจารย์ได้ทำข้อตกลงไว้ว่า ถ้านักศึกษาคุย  อาจารย์จะหยุดพูด และเพื่อนๆตั้งใจฟังงานที่อาจารย์สั่ง

การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-ได้รับความรู้ในเรื่องของความหมายคำว่าคณิตศาสตร์และการฝึกเขียนภาษาอังกฤษในคำที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อนำไปฝึกฝนตนเองให้ดียิ่งขึ้นได้

งานที่ได้รับมอบหมาย


1.สำรวจหนังสือคณิตศาสตร์ในห้องสมุด(สำนักวิทยบริการ) โดยเขียนชื่อหนังสือ  ชื่อผู้แต่ง ปีพ.ศ และเลขหมู่หนังสือ 
2.ความหมายของคำว่าคณิตศาสตร์และหาชื่อคนเขียน  ชื่อหนังสือ เลขหน้า เลขหมู่หนังสือ
3.จุดมุ่งหมาย  การสอนคณิตศาสตร์
4. การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์ (ทฤษฎี)
5. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์
6. หลักการจัดประสบการณ์คณิตสาสตร์

เพิ่มเติม

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม

ทฤษฎีการเรียนรู้ 
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54)

พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
  1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น
  2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
    -- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่ แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก

    -- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้ หรือสัมผัสจากภายนอก
  3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี
  4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้ เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่

    1. ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
    2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
    3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
    4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
    5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
    6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่ 
กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
  1. การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
  3. การเกิดความสมดุล (equilibration) เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล
การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
  • นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
     
  • ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
    ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม
     
  • หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
    --เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
    --เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
    --เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
    --เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
    --ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง
     
  • การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
    --ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
    --ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
    --ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
    --เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
    --ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
    --ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
    --ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
    --ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
     
    ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้ 
  • --มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
    --พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ 

  • --ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น  




วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่1


วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 2  พฤศจิกายน  2555

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.



เนื้อหาที่เรียน
   - อาจารย์ปฐมนิเทศในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและข้อตกลงร่วมกันในการเรียนวิชานี้
   - อาจารย์ให้นักศึกษาสร้างบล็อก  เพื่อสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยอาจารย์จะตรวจทุกวันเสาร์ ห้ามเกินเวลา 17.00น.
   - อาจารย์ให้นักศึกษาตอบคำถาม 2 คำถาม คือ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคืออะไร 2 ประโยคและ สิ่งที่คาดหวังที่จะได้รับจากการเรียนวิชานี้


รู้พัฒนาการ : เพื่อให้ทราบว่าเด็กต้องการอะไร เพื่อเราจะได้จัดประสบการณ์อย่างเหมาะสม

พัฒนาการ : การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง





บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่ง


การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-สามารถนำความรู้ในด้านของการคิดวิเคราะห์ไปพัฒนาตนเองได้และได้รู้จักตั้งเป้าหมายให้กับตนเองในการเรียน เพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม