วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

เพิ่มเติม มาตราฐานคณิตศาสตร์

เจาะลึก....เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

     คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์วางแผน แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมนอกจากนั้นคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆเด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่น และสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
      สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ตั้งแต่ปี 2551 โดยคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ได้ร่วมกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย อายุ 3 – 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางให้สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัดนำไปใช้จัดการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

      เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์      การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ได้แก่
จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์
      สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน ค.ป. 1.1 : เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      สาระที่ 2 : การวัด มาตรฐาน ค.ป. 2.1 : เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป. 3.1 : รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง มาตรฐาน ค.ป. 3.2 : รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
      สาระที่ 4 : พีชคณิต มาตรฐาน ค.ป. 4.1 : เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มาตรฐาน ค.ป. 5.1 : รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
      นางเชอรี่ อยู่ดี หัวหน้าสาขาคณิตศาสตร์ประถมศึกษา สสวท. ประธานคณะกรรมการกำหนดแนวทางการจัดทำคู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กล่าวถึงปัจจัยสำคัญของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่า “ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์บรรลุมาตรฐานการเรียนรู้มี 4 ประการ ได้แก่ ผู้บริหาร ซึ่งมีบทบาทในการจัดสรรงประมาณ จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เพียงพอ การบริหารประสานงาน วางแผนกำกับดูแล สร้างขวัญกำลังใจครูผู้สอน ส่งเสริมความสามารถของเด็กทุกด้าน วางนโยบายการนิเทศภายในให้ชัดเจน และประเมินผลการปฏิบัติงานของครูผู้สอนรอบด้านอย่างยุติธรรม ครูผู้สอน ซึ่งควรจะมีการพัฒนาความรู้ จัดกิจกรรมหลากหลาย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพครู เด็ก ต้องมีความสนใจใฝ่รู้ ช่างสังเกตซักถาม คาดเดา อธิบายเหตุผลของตนเอง สภาพแวดล้อม หรือความพร้อมของสถานศึกษา ห้องเรียน นอกจาก 4 ปัจจัยดังกล่าวแล้วยังต้องการบทบาทการสนับสนุนจากผู้ปกครองด้วย”
      คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในแต่ละช่วงอายุ มีความซับซ้อนแตกต่างกัน ดังนี้      คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆรู้จักทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากจากสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก สร้างสรรค์งานศิลปะ
       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาวน้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง สามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และใช้ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง สามารถทำตามแบบรูปที่กำหนด

       คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี ควรมีความสามารถดังนี้ 1) มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม 2) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาวน้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 3) มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่ง ทิศทางและระยะทาง สามารถใช้คำบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง และแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่าง ๆ สามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และจำแนกรูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม สามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตสองมิติที่เกิดจากการตัด ต่อเติม พับ หรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ 4) มีความรู้ ความเข้าใจ แบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถต่อแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่มเติม 5) มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย
       การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็ก ต้องคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ ทบทวบความรู้พื้นฐาน สอนเนื้อหาใหม่ สรุปสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฝึกทักษะหรือฝึกปฏิบัติ นำความรู้ไปใช้ วัดและประเมินผล ตัวอย่างรูปแบบของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยที่น่าสนใจ อาทิ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การเรียนรู้จากการใช้คำถาม เป็นต้น

       “ครูผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้และสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ครูต้องยึดเด็กเป็นสำคัญ กล่าวคือ การเรียนรู้โดยให้เด็กมีส่วนร่วมรู้ ร่วมคิด ร่วมทำ ควรคำนึงถึงความสนใจและความแตกต่างของเด็กแต่ละคน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้จึงควรหลากหลาย อาจจัดให้ทำกิจกรรมร่วมกันทั้งชั้น ทำในกลุ่มย่อย ทำเป็นรายบุคคล สถานที่ควรมีทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน บริเวณโรงเรียน และศึกษาจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนหรือในท้องถิ่น” นางเชอรี่ อยู่ดี กล่าว

        นอกจากนั้น เทคนิคการจูงใจให้เด็กๆ สนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์อีกอย่าง คือ ให้เด็กได้เรียนรู้และค้นพบสิ่งท้าทาย ด้วยกิจกรรมและเกมที่ช่วยฝึกทักษะคณิตศาสตร์ให้เด็กได้ร่วมสนุกพร้อมสอดแทรกเนื้อหาความรู้เข้าไป
        ทั้งนี้ สสวท. ได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และสามารถเชื่อมต่อกับสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2551

สื่อ (คณิตศาสตร์)



เวลาของฉัน

วัสดุ-อุปกรณ์
1.กระดาษลัง     2.กระดาษสี    3.สีไม้    4.ไม้เสียบลูกชิ้น       5.เทปกาว 2 หน้า    6.ดินสอ   ไม้บรรทัด     7.กาว       8.กรรไกร     9.สติ๊กเกอร์เส้นลายคลื่น  10.เทปผ้า  11.หลอด  12.กระดาษแข็ง 12.ไม้ไอติม
วิธีการทำ
1.นำกระดาษลังมาตัดเป็นรูปวงกลมและใช้กระดาษสีติดลงบนกระดาษลังที่ตัดเป็นรูปวงกลมเสร็จแล้วให้เรียบร้อย
2.นำกระดาษแข็งมาเขียนเป็นตัวเลข 1-12 โดยแต่ละเลขจะเป็นรูปเรขาคณิตอะไรก็ได้  เมื่อเสร็จแล้วก็นำไปติดที่กระดาษลังรูปวงกลม
3.นำไม้เสียบลูกชิ้นมาเจาะรูตรงกลางแล้วทำเข็มนาฬิกาด้วยหลอดเพื่อให้หมุนได้
4.วางแผนวาดรูปภาพกิจวัตรประจำวัน วาดลงบนกระดาษแข็งตัดเป็นรูปวงกลมขนาดเล็ก ระบายสีให้สวยงามและติดด้านหลังด้วยไม่ไอติม
5.นำหลอดมาตัดแล้วติดไว้ที่ด้านหลังกระดาษหลังรูปวงกลม
6.นำกระดาษหลังมาทำเป็นฐานให้ตั้งได้
7.ตกแต่งขอบให้เรียบร้อยโดยใช้สติ๊กเกอร์เส้นลายคลื่นติดขอบ
8.ตกแต่งชิ้นงานให้สวยงาม
วิธีการใช้
-ใช้เป็นสื่อสอนเด็ก  โดยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องเรขาคณิต  เวลาและกิจวัตรประจำวันของเด็กว่าเด็กทำอะไรบ้าง
ประโยชน์
-เด็กได้เรียนรู้รูปเรขาคณิต รู้จักเวลาและสามารถวางแผนในการดำเนินชีวิตประจำวันของตนเองได้ในกิจวัตรประจำวันของตัวเด็กเอง
วิธีการเก็บรักษา
-เก็บรูปภาพกิจวัตรประจำวันไว้ในกล่องและใช้ผ้าแห้งเช็ดทำความสะอาด

                                                                   โดย  นางสาวฐาทินี   ศรีจันทร์


วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์

ตัวอย่างแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์

ตัวอย่างสื่อ(คณิตศาสตร์)


ชื่อผลงาน ลูกส้มแสนกล

1. กำหนดระดับชั้นหรือวัยของกลุ่มเป้าหมาย วิชา/สาระการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นก่อนอนุบาลและอนุบาล1-อนุบาล3

2. ออกแบบสื่อ
          เด็กก่อนวัยเรียนหรือวัยอนุบาลเป็นวัยที่กำลังพัฒนาทั้งด้านความคิดและสติปัญญา การนับเลขเป็นกระบวนการเรียนรู้ขั้นแรกของเด็ก เพื่อให้เขาเรียนรู้จดจำในจำนวนต่างๆได้เป็นอย่างดี ผมได้ทำสื่อการเรียนรู้จากผ้าขึ้นมาโดยได้แรงบรรดาลใจจากครูนก ซึ่งครูนกเป็นครูอนุบาล ได้ทำการสอนเด็กๆหัดนับจำนวนโดยใช้แผนภาพง่ายๆสอนเด็กนักเรียน ผมจึงเล็งเห็นว่า การสร้างสื่อต่างๆขึ้นมานั้นจะต้องเกิดความจูงใจให้เด็กหันมาสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ การนำเอารูปส้มเข้ามานั้น เด็กๆอาจเกิดความสนใจมากขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งผมยังได้เย็บลูกเต๋า เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเพลิดเพลินและสนุกสนานในการเรียนรู้ การใช้สื่อการเรียนรู้นี้ก็ไม่ยากครับ สอนโดยการให้เด็กนับจำนว และเรียงจำนวนจากน้อยไปหามากครับ
3. วิธีการผลิตสื่อ 
 เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตมาจากเศษผ้า
วัสดุอุปกรณ์ 
1. ผ้าสีส้ม,เขียว,ชมพู,และเหลือง
2. เข็ม ด้าย กรรไกร
3. ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด
4. นุ่น หรือ ใยสังเคราะห์
5. กระดาษกาว
การเย็บลูกเต๋า
1. นำผ้าสีชมพู มาวัดขนาดให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยตัดเป็น 6 ชิ้น                    
2. นำผ้าสีชมพูมาวัดขนาดให้เป็นวงกลม วงเล็กๆตามจำนวนตั้งแต่ 1-6                   
3. จากนั้นเนาทั้ง 5 ด้านให้ติดกัน เหลือไว้เพียง 1 ด้าน เพื่อที่จะยัดนุ่นเข้าไป
4. ยัดนุ่นให้แน่น
5. เย็บด้านที่เหลือให้ติดกัน ก็จะได้ลูกเต๋าเสร็จสมบูรณ์
การเย็บลูกส้ม
1. นำผ้าสีส้มมาตัดเป็นกลมขนาดตามต้องการ จำนวน 12 ชิ้น                              
2. เย็บติดกันทั้ง 12 ชิ้น แล้วทำการเย็บตัวเลขใส่ลงไปที่ละคู่                               
3. จากนั้นกลับด้าน ยัดนุ่นให้แน่น                                                                 
4. ทำการเย็บใบและก้าน ในลักษณะเดี๋ยวกับผ้าวงกลมสีส้ม
5. จากนั้นก็เย็บติดกันให้เรียบร้อย
     การทำสื่อชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้เด็กก่อนปฐมวัย และวัยอนุบาล 1-3 ได้ใช้เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ถึงการนับจำนวเลข สำหรับท่านผู้ใดที่สนใจสามารถทำตามได้ด้วยวิธีง่ายๆ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่13

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 25 มกราคม  2556

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.


เนื้อหาที่เรียน
     -อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ค้าง

     -อาจารย์ทบทวนมาตราฐานคณิตศาสตร์ โดยการยกตัวอย่างในหน่วย "ไข่" ดังนี้
บรรยากาศในการเีรียน
     -เพื่อนมาเรียนกันน้อย  สำหรับเพื่อนๆที่มาเรียนก็ตั้งใจฟังอาจารย์สอน
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
     -ได้รับความรู้ในการเตรียมการสอนในแต่ละวัน เพื่อนำไปปรับใช้ได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
     -เตรียมตัวนำเสนอหน่วยตามที่ได้รับมอบหมายออกมานำเสนอในสัปดาห์ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

เพลง(คณิตศาสตร์)

ตัวอย่าง เพลง(คณิตศาสตร์)


ความสำคัญของเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงนั้นมีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นวัยที่กำลังจดจำ ครูจำเป็นต้องหากระบวนการและเทคนิคต่างๆที่ช่วยกระตุ้นและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็กนั้นมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ดังนั้นครูสามารถนำเพลงมาเป็นสื่อที่ช่วยในการเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความสนุกสนานและเกิดความเข้าใจในบทเรียนได้เป็นอย่างดี และทำให้การสอนของครูมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การสอนเพลงให้เกิดผลดีต่อเด็กปฐมวัยนั้น ครูจะต้องเข้าใจถึงวิธีการปฏิบัติต่อเด็ก รู้วิธีซึ่งการที่จะฝึกพื้นฐานเกี่ยวกับเพลงการเคลื่อนไหวประกอบจังหวะเพลงให้กับเด็ก ตลอดจนเข้าใจวิธีการสอนที่ถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอน จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะสามารถส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดีของเด็กได้เต็มตามศักยภาพ

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่12

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 18 มกราคม  2556

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.


เนื้อหาที่เรียน
     -อาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานที่ค้าง
     -อาจารย์อธิบายวิธีการเลือกหน่วย
     -อาจารย์อธิบายวิธีการสอน โดยยกตัวอย่างหน่วย "ไข่"

วันจันทร์ (ชนิดของไข่)
-เริ่มต้นด้วยการสอนให้เด็กรู้จักชนิดของไข่ โดยใช้คำถามในการถามเด็กว่า "เด็กๆรู้จักไข่ชนิดใดบ้าง"
-นำไข่มาใส่ตะกร้่าพร้อมหาอะไรมาปิด แล้วให้เด็กๆทายว่าในตะกร้ามีไข่อะไรบ้าง หลังจากนั้นให้เด็กๆช่วยกันตอบ
-ถามคำถามเด็กๆต่อว่า "เด็กลองบอกครูซิคะว่าในตะกร้ามีใครกี่ฟอง" เด็กๆตอบ หลังจากนั้นครูให้เด็กๆช่วยกันนับโดยครูเป็นผู้หยิบไข่ออกมาวางทีละฟอง
-ให้เด็กหยิบไข่ที่มีสีขาวออกมาวางไว้อีกตะกร้าแล้วนับดูว่าไข่ที่สีขาวมีกี่ฟองและไข่ที่ไม่มีสีขาวกี่ฟอง
-ครูบอกเด็กๆว่า ไข่สีขาว คือ ไข่เป็ด และ ไข่ที่ไม่มีสีขาว คือ ไข่ไก่
-ครูสอนเปรียบเทียบ โดยการหยิบไข่ไก่และไข่เป็ดออกมานับโดยหยิบออกมาเป็นคู่ ถ้าไข่ไม่เหลือแสดงออกมีจำนวนเท่ากัน
-ครูสรุปสีของไข่ให้เด็กฟังอีกครั้ง
วันอังคาร  (ลักษณะของไข่)
-ทบทวนของเมื่อวาน ถามคำถามเด็กให้เด็กตอบ "เด็กๆจำได้ไหมว่าไข่ไก่สีอะไร ไข่เป็ดสีอะไร"
-ครูให้เด็กสังเกต สี  ขนาด  รูปทรง  พื้นผิว โดยส่งให้เด็กทีละอย่าง
-ครูและเด็กช่วยกันสรุปและเขียนในตาราง
-ครูสรุป ความเหมือน-ความต่างให้เด็กฟัง
บรรยากาศในการเรียน
     -เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอน
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
     -ได้รู้จักการสอนคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
     -อาจารย์ให้นักศึกษานำงานที่ค้างมาส่งในสัปดาห์หน้า

วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่11

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 11 มกราคม  2556

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.


เนื้อหาที่เรียน
     -อาจารย์ให้นำเสนองานกลุ่ม
กลุ่มที่1 ลูกคิด  การนับ,จำนวน เด็กจะได้เรียนรู้กับของจริง  มีมิติ เด็กสามารถร้อยเองได้ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์และการนำเลขมากำกับ
กลุ่มที่2 กราฟ  ใช้นำเสนอข้อมูล (กลุ่มดิฉัน)
กลุ่มที่3 ปฎิทิน   การนับ จำนวน เรียงลำดับเชิงนามธรรม ค่า สัญลักษณ์ ตัวเลข ปริมาณ 



     -อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม(กลุ่มละ 5 คน) คิดเรื่องมา 1 หน่วย ตัวอย่างเช่น หน่วยผลไม้




บรรยากาศในการเีรียน
     -เพื่อนๆตั้งใจฟังอาจารย์แนะแนวทางในการทำสื่อ(คณิตศาสตร์)และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายหน่วย แตงโม
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
     -ได้รับความรู้ในเรื่องการทำสื่อที่เหมาะสมกับเด็กมากยิ่งขึ้น
งานที่ได้รับมอบหมาย
     -แก้ไขสื่อให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
     -งานกลุ่ม (คิดหน่วยมา 1 หน่วยพร้อมทำการสอนในแต่ละวัน) หน่วย "ข้าว" 

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

มาตราฐานคณิตศาสตร์


ความสำคัญของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิด ทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน ตลอดจนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน แก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และคณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศาสตร์อื่น ๆ
เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้ มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต ชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว คณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็ก
มีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัว การที่เด็กมีความรู้
ความเข้าใจ มีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์
ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์ จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้ และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับปฐมวัย มุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้เตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆทางคณิตศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา โดยกำหนดสาระหลักที่จำเป็นสำหรับเด็ก ดังนี้
จำนวนและการดำเนินการ จำนวน การดำเนินการของจำนวน การรวมและ

การแยกกลุ่ม
การวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา
เรขาคณิต ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิต

สองมิติ
พีชคณิต แบบรูปและความสัมพันธ์
การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น การเก็บรวบรวมข้อมูลและการนำเสนอ
ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล

การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียน ครั้งที่10

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 4 มกราคม  2556

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.


เนื้อหาที่เรียน
  -อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำงานกลุ่ม ที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์


การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
  -ได้รู้จักการทำสื่อ(คณิตศาสตร์)ที่เหมาะกับเด็กในรูปแบบต่างๆ