วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียน ครั้งที่3

วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)

วันที่ 16  พฤศจิกายน  2555

กลุ่มเรียน102    วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.



เนื้อหาที่เรียน
   - อาจารย์ให้จับกลุ่ม  3  คน แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากงานที่ได้ไปหาข้อมูลมาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์  ถ้าข้อมูลที่ไปหามาเหมือนกับเพื่อนในกลุ่มให้นำข้อมูลนั้นมาไว้เป็นอันดับแรก  ข้อมูลที่ไม่เหมือนกันเอาไว้ส่วนท้าย  เพื่อให้เกิดความหมายเดียวเป็นส่วนรวม  เรียบเรียงเป็นประโยคของกลุ่มในแต่ละคนได้มาจากใครบ้างและทุกข้อต้องมีอ้างอิงด้วย
   - อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มตอบคำถาม  5  ข้อ  คือ
     1. ความหมายของคณิตศาสตร์
     2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ 
     3. การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์  
     4. ขอบข่ายของคณิตศาสตร์ 
     5. หลักการสอนคณิตศาสตร์ 
   - อาจารย์ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองาน


  จากการสรุป  โดยสมาชิกในกลุ่ม  ดังนี้

1.นางสาวฐาทินี ศรีจันทร์    เลขที่ 2
2.นางสาวนิภาพร หมื่นยุทธ    เลขที่ 21
3.นางสาวจริยา วงศ์ดี  เลขที่ 28



1.ความหมายของคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์   หมายถึง การคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลใช้ในการวิเคราะห์การเรียนรู้การแก้ปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อนอีกทั้งคณิตศาสตร์เป็นสิ่งประเทืองปัญญา ในวิชาที่ว่าด้วยการคำนวณ การคาดคะเน เลขคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ เรขาคณิต ที่นำไปวิเคราะห์สภาพการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และเลือกใช้กลวิธีที่ใช้ในการศึกษาอย่างเหมาะสม
    อ้างอิง:ความคิดเชิงวิเคราะห์,ผู้ช่วยศาสตร์ตราจารย์ศักดา บุญโต,2527
                การสร้างชุดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3,ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี,2542
                คณิตศาสตร์สำหรับครูประถมศึกษา,ผู้ช่วยศาสตราจารย์มยุรี ณะฤทธิ์,2538
2. จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
  1. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจแนวคิดความคิดรวบยอดเกียวกับคณิตศาสตร์อย่างสมบูรณ์ สามารถนำเอาไปเป็นเครื่องมือในการสื่อสารและการเรียนรู้ได้
  2. เพื่อให้รู้จักใช้ในกระบวนการหาคำตอบ สร้างพื้นฐานของการคิดคำนวณ ซึ่งอาจเรียกว่าความเข้าใจในคณิตศาสตร์
  3. เพื่อให้เข้าใจพื้นฐานคณิตศาสตร์ เรียนรู้แสดงความหมาย คำพูด สัญลักษณ์ เข้าใจศัพท์ ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
  4. เพื่อฝึกฝนให้เกิดทักษะ สามารถแก้ปัญหาได้ ทำคณิตศาสตร์ได้
  5. เพื่อให้เด็กมีความรู้และค้นคว้าทดลองหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง
     อ้างอิง:นิตยา ประพฤติกิจ,2541,คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                  สุรชัย ขวัญเมือง,2522,วิธีการสอนและวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
                  รองศาสตราจารย์วรรณี โสมประยูร,2540,เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์สำเร็จรูป
3. การสอนหรือการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
  1. เด็กจะเรียนรู้จากการเล่นหรือกิจกรรม ฝึกแก้โจทย์ที่พบในชีวิตประจำวัน
  2. ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนเกิดการนึกคิด แก้ปัญหา ทบทวน ตั้งสมาธิเพื่อเร้าความสนใจ
  3. ตัวแปรทางคณิตศาสตร์ มีความสัมพันธ์ หลักการช่วยให้เด็กเข้าใจมโนมติทางคณิตศาสตร์ ควรใช้วิธีการหลายวิํธี
  4. การเสนอมโนมติจากสภาพการณ์หลายสภาพที่จะนำไปใช้เด็กต้องเข้าใจสิ่งที่สามารถแทนได้หลายรูปแบบ
     
     อ้างอิง:รองศาสตราจารย์ ดร.นพพร ธนะชัยขันธ์,2543
                 กองวิจัยทางการศึกษากรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ,2001
                 รองศาสตราจารย์ ดร.ประยูร อาษานาม,2537
4. ขอบข่ายคณิตศาสตร์
  บุคคลที่มีความสำคัญที่สุด คือ ครูผู้สอน ซึ่งครูผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ครูจะต้องรู้ระดับการเรียนของเด็ก เพื่อที่จะได้เลือกวิธีสอนที่เหมาะสม กับเนื้อหา วัย และความสามารถของผู้เรียน ซึ่งอาจจะใช้สื่อที่เป็นรูปธรรม ประกอบคำอธิบาย ประกอบด้วยเนื้อหาสาระ ตัวเลขการนับ การบวก การลบ การคูณ การหาร
     อ้างอิง:สุรชัย ขวัญเมือง,2522,วิธีการสอนและวัดประเมินผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
                  สุวร กาญจนมยูร,2532,เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
                  นิตยา ประพฤติกิจ,2542,คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
5. หลักการสอนของคณิตศาสตร์
  1. ต้องสอนให้ผู้เรียนคิดเป็น คิดเร็ว
  2. ต้องมีเทคนิคการสอนคณิตศศาสตร์ให้เร็ว
  3. กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนให้ดี
  4. ต้องจัดกิจกรรมการเรียนให้หลากหลายบ
  5. จัดให้มีระบบและรู้จักการค้นพบ
  6. การฝึกหัดต้องได้กระทำและเข้าใจ

     อ้างอิง:สุวรกาญจนมยูร,2532,เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา
                 สุรชัย ขวัญเมือง,2522,วิธีการสอนและวัดผลวิชาคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษ

บรรยากาศในการเรียน

-เพื่อนๆแต่ละกลุ่มตั้งใจเรียนและตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์สั่ง



การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้

-ได้รู้จักการแลกเปลี่ยนความเห็นกัน  การทำงานเป็นกลุ่ม รวมถึงการไปศึกษาค้นคว้างานอย่างถูกต้อง ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น