●▂● แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2555 ●▂●
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน ครั้งที่16
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)
กลุ่มเรียน102 วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.
หมายเหตุ : อาจารย์นัดนักศึกษาสอบ วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556
กลุ่มเรียน102 วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.
เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์นำผลงานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมาให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง
-อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย
-หน่วยข้าว (กลุ่มดิฉัน)
-หน่วยสับปะรด
บรรยากาศในการเรียน
-เพื่อนๆนำสื่อที่ใช้ประกอบการสอนมานำเสนอได้เป็นอย่างดีและเพื่อนๆตั้งใจฟังกลุ่มที่ออกมานำเสนอ มีส่วนน้อยที่คุยกันแต่ก็ไม่ได้รบกวนเพื่อนที่นำเสนอ
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-รู้จักวิธีการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน การออกไปพูดหน้าชั้นเรียน การเตรียมความพร้อมในการทำงานเป็นกลุ่มและได้รับความรู้ในเกี่ยวกับเทคนิคในการสอนเด็กปฐมวัยด้านคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วิจัย
สรุปวิจัย เรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ / แสงเดือน วิมลรัตน์
วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้ ผู้จิจัยแสงเดือน วิมลรัตน์
ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม โดยใช้กับเด็กปฐมวัยชาย-หญิงอายุ 4-5 ปี
ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่2 ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนคริสต์ธรรมวิทยา เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 คน
ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ๆละ3วัน วันละ20-30 นาที รวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
2.แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
สรุปผลการวิจัย
1.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้รูปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี
2.เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยชู้ปแบบพหุปัญญาเพื่อการเรียนรู้
มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมและรายด้าน คือด้านการจำแนกเปรียบเทียบ
ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการเรียงลำดับ
และด้านการรู้ค่าจำนวนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ความรู้ที่ได้รับ
ได้เห็นถึงวิธีการทำวิจัย
การสังเกตเด็กและได้รับความรู้ว่าเกี่ยวกับเด็กในการใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นของจริง เด็กจะเกิดความสนใจ
กระตือรือร้นมากในการทำกิจกรรมและในการจัดกิจกรรมครูไม่ควรกำหนดเวลาตายตัวและไม่ควรเร่งเด็กในขณะที่ทำกิจกรรมเพราะเป็นการชะงักการเรียนรู้
วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน ครั้งที่15
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)
กลุ่มเรียน102 วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.
-หน่วยไข่
-หน่วยผลไม้
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556
กลุ่มเรียน102 วันศุกร์ เวลา14:10-17:30น.
เนื้อหาที่เรียน
-อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย-หน่วยไข่
-หน่วยผลไม้
ตัวอย่างวิธีการสอน หน่วย "ผลไม้"
วันที่ 1 ชนิด
-เริ่มต้นด้วยการสอนให้เด็กรู้จักชนิดของผลไม้ โดยใช้คำถามในการถามเด็กว่า "เด็กๆรู้จักผลไม้อะไรบ้าง"
-นำผลไม้มาใส่ตะกร้่าพร้อมหาอะไรมาปิด แล้วให้เด็กๆทายว่าในตะกร้ามีผลไม้อะไรบ้าง หลังจากนั้นให้เด็กๆช่วยกันตอบ
-ถามคำถามเด็กๆต่อว่า "เด็กลองบอกครูซิคะว่าในตะกร้ามีผลไม้กี่ผล" เด็กๆตอบ หลังจากนั้นครูให้เด็กๆช่วยกันนับโดยครูเป็นผู้หยิบผลไม้ออกมาวาง พอนับเสร็จก็นำตัวเลขมาวางไว้แทนค่า
-ให้ตัวแทนเด็กออกมาหยิบผลไม้ที่ไม่มีสีแดงออกมาไว้อีกตะกร้าและนับผลไม้ที่มีสีแดงมีกี่ผล ผลไม้ที่ไม่มีสีแดงมีกี่ผลและทั้งหมดมีกี่ผล
วันที่ 2 ลักษณะ
-ส่งผลไม้ให้เด็กสัมผัสผิว ดูรูปทรง สี และดมกลิ่น หลังจากนั้นครูและเด็กร่วมกันสรุปลงในตาราง
-ส่งผลไม้ให้เด็กสัมผัสผิว ดูรูปทรง สี และดมกลิ่น หลังจากนั้นครูและเด็กร่วมกันสรุปลงในตาราง
วันที่ 3 ประโยชน์
-ทบทวนของวันที่2 ความเหมือนความแตกต่าง
-เล่านิทานที่เกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้ (ระยะทาง ตำแหน่ง ทิศทาง)
-ทบทวนของวันที่2 ความเหมือนความแตกต่าง
-เล่านิทานที่เกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้ (ระยะทาง ตำแหน่ง ทิศทาง)
วันที่ 4 cooking (ทำอาหาร)
การนำสิ่งที่ได้รับไปปรับใช้
-เห็นตัวอย่างการสอนในด้านคณิตศาสตร์ในแต่ละวัน ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเรียนได้
งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษากลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอเตรียมตัวและนำเสนอในสัปดาห์หน้า
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
หน่วย ข้าว
วันที่ 1 ประเภทของข้าว
-เริ่มต้นด้วยการสอนให้เด็กรู้จักประเภทของข้าว โดยใช้คำถามในการถามเด็กว่า "เด็กๆรู้จักข้าวอะไรบ้าง"
-นำข้าวที่ได้ใส่ถงเตรียมไว้แล้วมาใส่ตะกร้่าพร้อมหาอะไรมาปิด แล้วให้เด็กๆทายว่าในตะกร้ามีข้าวอะไรบ้าง หลังจากนั้นให้เด็กๆช่วยกันตอบ
-ถามคำถามเด็กๆต่อว่า "เด็กลองบอกครูซิคะว่าในตะกร้ามีข้าวอยู่กี่ถุง" เด็กๆตอบ หลังจากนั้นครูให้เด็กๆช่วยกันนับโดยครูเป็นผู้หยิบถุงข้าวออกมาวาง พอนับเสร็จก็นำตัวเลขมาวางไว้แทนค่า
-ให้ตัวแทนเด็กออกมาหยิบถุงข้าวสารเหนียวออกมาไว้อีกตะกร้าและนับถุงข้าวสารเหนียวว่ามีอยู่กี่ถุง หลังจากนั้นครูให้เด็กนับข้าวสารเจ้าว่ามีกี่ถุง พร้อมสรุปจำนวนทั้งหมด
วันที่ 2 ลักษณะของข้าว
-ส่งถุงข้าวให้เด็กสังเกตสี ขนาด รูปทรง พื้นผิว โดยครูส่งให้เด็กทีละประเภทและหลังจากนั้นครูและเด็กร่วมกันสรุปลงในตาราง
วันที่ 3 ส่วนประกอบ
-ทบทวนเด็กๆว่า ข้าวสารเจ้าสีอะไรและข้าวสารเหนียวสีอะไร
-ถามคำถามเด็กว่าเด็กๆรู้จักรวงข้าวไหม ส่วนประกอบ หน้าที่ของข้าวว่ามีอะไรบ้าง
-ครูสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของข้าวและให้ตัวแทนเด็กออกมาติดคำที่ส่วนประกอบของข้าว
-ส่งถุงข้าวให้เด็กสังเกตสี ขนาด รูปทรง พื้นผิว โดยครูส่งให้เด็กทีละประเภทและหลังจากนั้นครูและเด็กร่วมกันสรุปลงในตาราง
วันที่ 3 ส่วนประกอบ
-ทบทวนเด็กๆว่า ข้าวสารเจ้าสีอะไรและข้าวสารเหนียวสีอะไร
-ถามคำถามเด็กว่าเด็กๆรู้จักรวงข้าวไหม ส่วนประกอบ หน้าที่ของข้าวว่ามีอะไรบ้าง
-ครูสอนเกี่ยวกับส่วนประกอบของข้าวและให้ตัวแทนเด็กออกมาติดคำที่ส่วนประกอบของข้าว
วันที่ 4 ประโยชน์
-ทบทวนของวันที่2 ความเหมือนความแตกต่างของข้าวทั้ง2อย่าง
-หาข้อมูลเรื่องประโยชน์ หลังจากนั้นเอามาเรียงลำดับ
-เล่านิทานที่เกี่ยวกับประโยชน์ของข้าว (ระยะทาง ตำแหน่ง ทิศทาง) ถามประโยชน์ของข้าว ดึงมาสู่การประกอบอาหาร ให้เด็กมีคนละ1คะแนนแล้วมาติดอาหารที่เด็กๆได้เสนอมาว่าอยากทำอะไรมากที่สุด
-ทบทวนของวันที่2 ความเหมือนความแตกต่างของข้าวทั้ง2อย่าง
-หาข้อมูลเรื่องประโยชน์ หลังจากนั้นเอามาเรียงลำดับ
-เล่านิทานที่เกี่ยวกับประโยชน์ของข้าว (ระยะทาง ตำแหน่ง ทิศทาง) ถามประโยชน์ของข้าว ดึงมาสู่การประกอบอาหาร ให้เด็กมีคนละ1คะแนนแล้วมาติดอาหารที่เด็กๆได้เสนอมาว่าอยากทำอะไรมากที่สุด
วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
บันทึกการเรียน ครั้งที่14
วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED2204)
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)